โรคฝุ่นหิน หรือซิลิโคสิส(Silicosis)
การประกอบอาชีพอาจเกิดอันตายได้หากประมาทหรือไม่ระมัดระวังตังให้ดี อันตรายจากการประกอบอาชีพเกิดขึ้นได้เสมอ แต่เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ แต่หากเกิดขึ้นแล้วอาจรักษาให้หายขาดได้ยากมักมีอาการหลงเหลืออยู่ เช่น อาจพิการหรือเกิดโรคเรื้อรัง พบมากในประเทศไทย เช่น โรคฝุ่นหิน หรือซิลิโคสิส โรคปอดฝุ่นฝ้าย หอบหืด โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นต้นหากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์
สาเหตุ
โรคปอดฝุ่นหิน หรือ โรคซิลิโคสิส (silicosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก การสูดหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นหินต่างๆ ที่มีสาร ซิลิคอนไดออกไซด์หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าเข้าไปในปอด ซึ่งส่วนมากจะพบในหินทราย โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-5 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าไป อยู่ในถุงลมปอดได้ โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกิน และมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อปอด ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด เมื่อยัง คงหายใจเอาฝุ่นที่มีซิลิกอนไดออกไซด์เข้าไปในปอดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น และการป้องกันควบคุมไม่เหมาะสม ในที่สุดจะทำให้เนื้อปอดเสีย เป็นวงกว้าง จนทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ลักษณะของงานที่เกิดฝุ่นซิลิก้า
เช่น การโม่ บด ย่อยหิน/แร่ ต่างๆ งานก่อสร้างหรืองานที่เกี่ยวข้องกับ หิน ทรายซีเมนต์ งานทำแก้ว
เซรามิค อิฐ ภาชนะดินเผา กระเบื้อง การหล่อโลหะ การยิงทราย การเจียรนัย เพชร พลอย ฯลฯ
อาการของโรค อาการของโรคเกิดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้
-ปริมาณฝุ่นหินหรือทรายในบรรยากาศขณะทำงาน มีมาก หรือน้อย
-เปอร์เซ็นต์ของสารซิลิคอนไดออกไซด์ ถ้ามีปริมาณสูงก็ก่อให้เกิดโรค ได้เร็วขึ้น
-ระยะเวลาที่หายใจเอาฝุ่นหินหรือทรายเข้าสู่ร่างกาย ถ้าทำงานกับฝุ่นหินหรือทรายเป็นเวลานานก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เร็วกว่า
ผู้ที่สัมผัสกับสารในระยะเวลาสั้น
อาการพิษแบบเฉียบพลัน มักพบในผู้ที่สัมผัสฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์ในปริมาณมากโดยไม่มีการป้องกัน โดยมีอาการหอบ เหนื่อย หายใจลำบาก เขียวคล้ำ เป็นไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
อาการพิษแบบเรื้อรัง คือสัมผัสฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์เป็นเวลานาน ในปริมาณไม่มากนัก จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง
มีอาการไอแห้ง ๆ มีอาการของหลอดลมอักเสบ บางครั้งมีอาการไอเป็นเลือด ร่างกายทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากจนเห็นได้ชัด
นอกจากในรายที่เป็นวัณโรคปอดแทรกซ้อนอยู่ด้วย ในรายเช่นนี้จะทำให้มีอาการเป็นไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย น้ำหนัก
ตัวลด อาจตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะ สำหรับโรคมะเร็งปอดไม่มีรายงานชัดเจนเกี่ยวกับอัตราการพบมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นในผู้ป่วย
ซิลิโคสิส
โรคนี้เกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันภายใน 5 ปี หรือแบบเรื้อรังค่อยเป็นค่อยไป 20-40 ปี มักเป็นวัณโรค
ปอดได้ง่าย มีอาการรุนแรง และรักษาหายยากกว่าคนทั่วไป ตรวจสมรรถภาพ ปอดมีความจุปอดลดลง
ภาพถ่ายรังสีปอดผิดปกติพบจุดทึบเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
การรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่รักษาตามอาการและลดอาการ แทรกซ้อน
การรักษาและป้องกัน
1.ให้คนงานสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นโดยเฉพาะ
2.ควบคุมแหล่งที่ก่อให้เกิดฝุ่นไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจายออกสู่บริเวณที่คนทำงานอยู่ เช่นการติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่ การใช้สเปรย์น้ำ การสร้างระบบปิดคลุม
3.แยกงานที่ทำให้เกิดฝุ่นออกจากงานอื่นๆ เพื่อป้องกันคนงานที่ไม่เกี่ยวข้อง ต้องหายใจเอาฝุ่นสารเข้าไป
4.การควบคุมที่ผ่านทาง ได้แก่ การลดฝุ่นบริเวณทั่วไปภายในโรงงาน ปรังปรุงถนน ฉีดพรมน้ำถนน
5.ให้ความรู้ การอบรมวิธีการทำงานที่ปลอดภัย การเฝ้าระวังด้านสุขภาพ การใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
6.ตรวจร่างกายประจำปี โดยการทดสอบสมรรถภาพของปอดและการเอกซเรย์ปอด
โรคฝุ่นฝ้าย หรือโรคบิสสิโนสิส(Bysinosis)
เป็นโรคปอกเรื้อรังมักเกิดกับกลุ่มผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตฝ้าย ปอ ป่าน
โรคปอดฝุ่นฝ้าย
โรคปอดฝุ่นฝ้าย หรือ บิสสิโนสิส (Byssinosis) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังที่เกิดจากการสูดหายใจเอาใยของฝ้าย ป่าน ปอ ลินิน และฝุ่นผงของพืชเข้าไปในปอด ทำให้มีอาการต่าง ๆ ทางระบบทางเดินหายใจ ถือเป็นหนึ่งในโรคปอดจากการประกอบอาชีพ (Pneumoconiosis)
กลุ่มเสี่ยง
ในเมื่อเป็นโรคที่เกิดจากการสูดเอาใยของสิ่งทอต่าง ๆ เข้าไป ดังนั้นแล้วกลุ่มคนที่เสี่ยงที่สุดคือ คนงานในโรงงานทอผ้าและสิ่งทอต่าง ๆ ที่ใช้ฝ้าย ป่าน ปอ หรือลินิน เป็นวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งผู้ที่ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้า ทำกระสอบ พรม ผ้าห่ม หมอน เครื่องนอนต่าง ๆ รวมทั้งการสัมผัสจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นใยฝ้าย ป่าน ปอ หรือลินิน
ทั้งนี้แต่ละปีมีคนงานจำนวนไม่น้อยป่วยด้วยโรคนี้ เพราะอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ โดยสร้างรายได้และเศรษฐกิจให้ประเทศ จึงมีจำนวนสถานประกอบการสิ่งทอกระจายอยู่ทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ คือ สมุทรสาคร เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกพืชชนิดนี้โดยตรง จึงมีสถานประกอบการอยู่ไม่น้อย
อาการของโรคปอดฝุ่นฝ้าย ร้ายแรงหรือไม่?
ผู้ที่สูดเอาใยสิ่งทอเข้าสู่ร่างกายจนสะสมนาน ๆ ส่วนใหญ่คือเกิน 2 ปีขึ้นไป จะมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหอบ มักเกิดในชั่วโมงต้น ๆ ของการทำงาน โดยเฉพาะในตอนเช้าวันแรกของการทำงานหลังจากวันหยุดสุดสัปดาห์ แล้วอาการจะทุเลาลงในตอนเย็น แต่วันถัดมา อาการจะค่อย ๆ ลดลงจนดีขึ้นเกือบเป็นปกติเมื่อได้หยุดพักในวันหยุดงาน แต่หากกลับมาทำงานใหม่ก็จะมีอาการนี้ตามมาอีก การตรวจสมรรถภาพปอดในระยะนี้อาจไม่พบสิ่งผิดปกติ
ทั้งนี้อาจมีบางรายที่มีอาการเรื้อรังเกิดขึ้นทุกวัน และมีอาการของโรคดังกล่าวตลอดไปทุกวันร่วมกับการลดลงของสมรรถภาพปอดอย่างถาวร
4 ระยะของโรคปอดฝุ่นฝ้าย บิสสิโนสิส
ระยะที่ 1 มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือไอเป็นครั้งคราวในวันจันทร์ หรือวันแรกที่กลับเข้าไปทำงาน
ระยะที่ 2 มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือหายใจเร็วกว่าปกติทุก ๆ วันจันทร์ หรือวันแรกของสัปดาห์ที่เริ่มกลับเข้าทำงาน
ระยะที่ 3 มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือหายใจเร็วกว่าปกติทุกวันจันทร์ หรือวันแรกที่กลับเข้าทำงาน รวมทั้งยังมีอาการนี้ต่อเนื่องไปถึงวันอื่น ๆ ของสัปดาห์ด้วย
ระยะที่ 4 มีอาการเหมือนระยะที่ 3 ร่วมกับภาวะหายใจล้มเหลว และการลดลงของสมรรถภาพปอดอย่างถาวร
สาเหตุ
ในปัจจุบันนี้กลไกการเกิดโรคบิสสิโนสิสยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีข้อมูลสนับสนุนอยู่ 3 ข้อ คือ
ในฝุ่นฝ้ายมีสารโมเลกุลขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่ไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮิสตามิน จึงทำให้เกิดโรคดังกล่าว
การสัมผัสฝุ่นฝ้ายเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ระบบทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมเกิดการระคายเคือง นาน ๆ เข้าจึงเกิดภาวะโรคทางเดินหายใจอุดกั้นแบบเรื้อรัง
อาจเป็นเพราะปฏิกิริยาของร่างกายต่อสาร Endotoxin ที่พบในเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ปนเปื้อนมากับฝุ่นฝ้าย ทำให้เกิดโรคบิสสิโนสิสขึ้น
รักษาอย่างไร หากป่วยโรคปอดฝุ่นฝ้าย
เนื่องจากเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการสูดละอองฝุ่นฝ้ายเข้าไป การรักษาที่ดีที่สุดก็คือต้องไม่สูดรับฝุ่นละอองเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายอีก โดยจำเป็นต้องย้ายไปทำงานที่แผนกอื่นซึ่งไม่มีฝุ่นฝ้าย แล้วใช้การรักษาพยาบาลโดยใช้ยาขยายหลอดลม เพื่อลดการเกร็งและการอุดกั้นของหลอดลม รวมทั้งยาลดการอักเสบ
แต่หากสูดหายใจเอาฝุ่นฝ้ายเข้าร่างกายไปนานแล้วจนมีอาการเรื้อรัง จะต้องรักษาเหมือนกับการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคถุงลมโป่งพอง รวมทั้งจำเป็นต้องเปลี่ยนงานใหม่ เพื่อให้สุขภาพดีขึ้น
วิธีป้องกัน
วิธีป้องกันสามารถทำได้ทั้งในส่วนของคนงานเอง และฝ่ายผู้ประกอบการ
คนงาน
ผู้ที่มีประวัติเป็นหอบหืด ภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว ไม่ควรทำงานเกี่ยวข้องกับฝุ่นฝ้าย เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น
ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
สวมหน้ากากอนามัยระหว่างทำงานทุกครั้ง เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองที่สูดเข้าไป
ผู้ประกอบการ
ในส่วนของโรงงาน หรือผู้ประกอบการนั้น ก็สามารถแนะนำวิธีป้องกัน พร้อมทั้งจัดอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันให้คนงานได้ เช่น
ให้ความรู้คนงานในการป้องกันการหายใจเอาฝุ่นฝ้ายเข้าไป
จัดทำอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพให้พนักงาน
แนะนำและสอนวิธีใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น วิธีใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง รวมทั้งวิธีการทำความสะอาดหน้ากาก
จัดให้มีการตรวจสุขภาพคนงานทุกปี ร่วมกับการตรวจสมรรถภาพของปอด โดยควรตรวจ 2 ครั้ง คือครั้งแรกในวันจันทร์หรือวันแรกของการกลับเข้าทำงานหลังวันหยุดสุดสัปดาห์ ส่วนครั้งที่ 2 ควรตรวจหลังจากคนงานทำงานไปแล้วไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติ ควรแนะนำให้คนงานเปลี่ยนไปทำงานในบริเวณที่ไม่มีฝุ่นฝ้าย
ควบคุมปริมาณฝุ่นฝ้ายภายในโรงงานให้ได้มาตรฐานที่กำหนด
โรคปอดฝุ่นฝ้ายก็เป็นโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพ ซึ่งหากอาการเริ่มมีแนวโน้มแย่ลง ก็จำเป็นต้องตัดสินใจเปลี่ยนหน้าที่ หรือการทำงานประเภทนี้ เพราะอย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
โรคหอบหืดที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
เป็นโรคที่คล้ายปอดฝุ่นฝ้ายมักเกิดในกลุ่มผู้ที่ทำงานก่อสร้าง ช่างพ่นสีรถยนต์ ช่างปูน ช่างโลหะ เป็นต้น
โรคหืดพบได้ร้อยละ 5-10 ของประชากร ในประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วพบว่าเด็กเป็นโรคหืดกันมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลันมักต้องเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลอยู่เสมอๆ อัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดเท่ากับ 0.86 ต่อผู้ป่วย 100,000 คน ผู้ป่วยเด็กโรคหืด อัตราส่วนเด็กชายต่อเด็กหญิง เท่ากับ 2 :1 ผู้ป่วยสองในสามของทั้งหมดได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดก่อนอายุ 18 ปี ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคหอบหืดเพิ่มมากขึ้น เพราะในเมืองมีมลภาวะเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการกำเริบมี 2-3 อย่าง คือ เมื่อเป็นหวัดทำให้เกิดอาการหอบมากขึ้น หรือมีการสำลักน้ำ ก็จะเกิดการกระตุ้นให้ไอไม่หยุดบานปลายรุนแรงได้
ในประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วพบว่าเด็กเป็นโรคหืดกันมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลันมักต้องเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลอยู่เสมอๆ คนที่เป็นโรคหอบหืดจะต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดี หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ ในกรณีของเด็กที่เป็นโรคหอบหืดเมื่อโตขึ้นก็สามารถหายได้เองอีกด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคหอบหืดมากถึงร้อยละ 6 จากประชากรทั้งหมด
ผู้ป่วยโรคหืดจะเกิดการตีบแคบของหลอดลมเป็นพักๆ ซึ่งเกิดจากหลอดลมมีภาวะไวเกินต่อการกระตุ้นจากสิ่งต่างๆ เมื่อมีการกระตุ้นจะทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดเกร็ง มีการบวมของเยื่อบุ และเสมหะถูกหลั่งออกมามากกว่าปกติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหอบ เพื่อเอาชนะความต้านทานในทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้น อาการดังกล่าวอาจทุเลาลงได้เอง หรือทุเลาภายหลังได้รับการรักษา
สาเหตุของโรค
-ปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค
โรคหืดส่วนหนึ่งเกิดจากโรคภูมิแพ้ สารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญ ได้แก่ ไรฝุ่นบ้าน ขนแมว ขนสุนัข แมลงสาบ และสปอร์เชื้อรา
-ตัวไรฝุ่นที่แพร่พันธุ์ได้ดีในสภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื้น วงจรชีวิตของมันจะค่อนข้างสั้น คือ มีอายุอยู่ได้แค่ 6-7 เดือน แต่อุจจาระของมันสามารถอยู่แพร่เชื้อได้นานถึง 1-2 ปี หากไม่ทำความสะอาดเครื่องนอน จะยิ่งมีอาการแพ้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ อาหารของตัวไรฝุ่นเป็นสะเก็ดผิวหนัง ขี้รังแคของมนุษย์
ขี้แมลงสาบที่แห้งเกรอะกรังตามหลืบตามมุม เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญ เช่นเดียวกับขนและรังแคของสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น แมว สุนัข
-เชื้อรามีทั้งในห้องที่เปียกชื้น และชั้นบรรยากาศทั่วไป
บางคนเกิดอาการเมื่อออกแรงหรือออกกำลังกาย สัมผัสกับอากาศที่เย็นจัด หรือเมื่อเกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนต้น
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความรู้เรื่องโรคหืดได้เปลี่ยนไปพอสมควร ทั้งในแง่ระบาดวิทยา กลไกการเกิดโรค พยาธิสภาพที่พบ ทำให้แนวทางการรักษา และการดูแลผู้ป่วยโรคนี้เปลี่ยนไปด้วย ในยุคหลังจีโนมิกส์ ความรู้เกี่ยวกับยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคหอบหืด (asthma genes) รุดหน้าไปมาก จนกระทั่งปัจจุบันพบความสัมพันธ์ของยีนที่เกี่ยวข้องหลายชนิดด้วยกัน และในอนาคตจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการนำความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการบำบัดรักษาโรคหืด
อาการของโรค
อาการของโรคหืด คือ หอบ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไอ หายใจมีเสียงวี๊ดหรือเสียงฮื้ด อาการมักเกิดเป็นพักๆโดยอาจเกิดอาการเมื่อออกกำลังหรือทำงานหนัก หรือเป็นเวลานอนกลางดึกจึงเป็นโรคที่ทรมาน ถ้าอาการมากจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมากด้วย
เมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคหืดจึงควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ ประเมินความรุนแรงของโรค และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ถ้าผู้ป่วยไปพบแพทย์ได้ขณะที่กำลังมีอาการหอบหืด แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยโดยการฟังเสียงหายใจจากปอดได้เลย แต่ถ้าไปตรวจขณะไม่มีอาการอาจต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติม
โรคหืดก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิต อาการของโรคจะรบกวนการนอน ทำให้สรรถภาพการทำงานถดถอย อาการแน่นหน้าอกอาจทำให้ผู้ป่วยตกใจ ด้วยเข้าใจว่าเป็นโรคหัวใจ สำหรับในเด็ก พบในเด็กวัยเรียนถึงร้อยละ 12 โรคหืดทำให้ขาดเรียนบ่อย ลดความสามารถในการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ และอาจเกิดปัญหาพัฒนาการเรียนรู้ที่ช้าได้ หากอาการรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้จากสมองขาดออกซิเจน
โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
มักเกิดในกลุ่มเกษตรกร เช่นสารกำจัดศัตรูพืช และสารเคมีอื่นๆ ในการเพาะปลูฏ นอกจากนั้นยังส่งผลต่อผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นด้วย และอาจตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร
สาเหตุ
1.พิษเข้าสู่ผิงหนังโดยตรง หรือวักเสื้อผ้าที่ปนเปื้นกับสารเคมี
2.พิษเข้าสู่ร่างกายด้วยการหายใจ และจะเป็นการนำสารเคมีเข้าไปในปอด
3.พิษเข้าสู่ร่างกายโดยการกลืน
ผลกระทบด้านสุขภาพ
1.ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น
2.ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง เกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
การป้องกัน
1.ก่อนที่จะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ควรอ่านฉลากที่ติดมากับภาชนะบรรจุให้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ การป้องกันอันตรายและวิธีแก้พิษ
2.ผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ถูกต้องตามอัตราส่วนที่ระบุในฉลากและเตรียมน้ำสะอาดไว้เพียงพอสำหรับการชำระล้างในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น
3.ขณะผสมสารเคมี ไม่ควรใช้มือเปล่ากวน ควรใช้ไม้หรือวัสดุอื่นแทนและควรสวมถุงมือทุกครั้งในขณะตวงหรือรินสาร
4.สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดควรบรรจุในภาชนะที่บรรจุมาแต่เดิม ถ้าจะถ่ายใส่ภาชนะใหม่ ต้องปิดป้ายบอกให้ชัดเจนว่าเป็นสารเคมีอะไร ป้องกันการหยิบผิดและต้องแน่ใจว่าปิดฝาสนิทไม่มีการรั่วซึมออกนอกภาชนะภายนอก
5.สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผสมให้พอดีหมดในครั้งเดียว หากใช้ไม่หมดควรจัดเก็บให้มิดชิดห่างไกลจากเด็ก สัตว์เลี้ยงและไม่ปนเปื้อนแหล่งน้ำหรืออาหาร
6.ตรวจเช็คอุปกรณ์การฉีดพ่นให้อยู่ในสภาพที่ดีไม่ชำรุดก่อนจะนำไปใช้ห้ามใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีการรั่วซึมของสารได้ทำการฉีดพ่น ในกรณีที่หัวฉีดเกิดการอุดตันห้ามใช้ปากเป่าหัวฉีดพ่นนั้นแต่ให้ถอดหัวฉีดออกมาทำความสะอาดโดยใช้การแช่ในน้ำ หรือใช้ไม้เขี่ยแล้วล้างน้ำ
7.สวมเสื้อผ้ามิดชิด เช่น กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น หน้ากากที่มีไส้กรองอากาศ ถุงมือ หมวก กระบังครอบหน้าหรือแว่นตา เป็นต้น
ห้ามกินอาหาร น้ำ หรือสูบบุหรี่ในขณะทำการผสมสารเคมี
8.ในกรณีที่เกษตรกรมีการสัมผัสสารเคมีทางผิวหนังให้ทำการชำระล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย ๑๕ นาที รีบอาบน้ำฟอกสบู่ เปลี่ยนเสื้อผ้า
9.ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่ลมแรง หรือฝนตก และควรยืนอยู่เหนือลมเสมอ
ที่มา
http://www.buriramnawarat.com/saranaru%20silicosis.html
http://health.kapook.com/view113830.html
http://www.bangkokhealth.com/health/article/
https://www.google.co.th/
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบดีเลย์
ตอบลบ