แต่ท่ามกลางวิวัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าดังกล่าว สังคมยังคงประสบปัญหานานัปการ เช่น ปัญหาความขัดแย้งผลประโยชน์ การทำลายสิ่งแวดล้อมปัญหาความรุนแรง ปัญหายาเสพติดที่กำลังแพร่ระบาด ปัญหาเยาวชนในวัยเรียนขาดคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ หลายฝ่ายต่างลงความเห็นสอดคล้องกันว่าเกิดจากความล้มเหลวของการศึกษา ที่ไม่สามารถสร้างคนไทย ให้เป็นคนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้ การจัดการเรียนรู้ยังไม่มี คุณภาพเป็นที่พอใจ ซึ่งมีสิ่งที่บ่งบอกว่าจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน ดังนี้
1. การเรียนรู้ที่เน้นวิชาการ รู้แต่หนังสือ ถูกล้อมกรอบด้วยตารางเรียนและ ห้องเรียน การพัฒนาคนจึงไม่เอื้อให้มีคุณลักษณะเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขมองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง มุ่งทำงาน ชาญชีวิต
2. วิธีการเรียนรู้ไม่เน้นกระบวนการให้ผู้เรียนได้พัฒนาในด้านการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น และ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ครูยังเป็นผู้มีอำนาจในชั้นเรียน กระบวนการเรียนรู้เป็นทุกข์ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ รูปแบบของการจัดการเรียนรู้ยังเป็นพฤติกรรมจำเจและพฤติกรรมถ่ายทอด
อย่างไรก็ตาม ในภาวะ “วิกฤติ” ก็ยังมี “โอกาส” ที่เป็นความหวัง และถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการปฏิรูปการเรียนรู้ครูและผู้บริหารจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดการ เรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด ภายใต้ความเชื่อตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ปรับปรุงแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
2. ความหมายของคำว่า "สุขศึกษา"
สมาคมการศึกษาแห่งชาติและสมาคมแพทย์อเมริกัน ได้ให้ความหมายของคำว่า "สุขศึกษา" ไว้ดังนี้ สุขศึกษา คือ ผลรวมของประสบการณ์ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติ เจตคติและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพDorothy Nyswander ได้ให้ความหมายของสุขศึกษาไว้ดังนี้
สุขศึกษา คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในตัวบุคคล การเปลี่ยนแปลงนี้สัมพันธ์กับความสัมฤทธิ์ผลส่วนบุคคลและส่วนชุมชนตามเป้าหมายทางสุขภาพอนามัย สุขศึกษาไม่สามารถที่จะหยิบยื่นให้บุคคลอื่นโดยบุคคลหนึ่งได้ สุขศึกษาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลวัตรที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยบุคคลอาจยอมรับหรือไม่ยอมรับข้อมูล เจตคติ และการปฏิบัติใหม่ๆ ซึ่งเกี่ยวกับเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขก็ได้
W.H.O. Technical Report No.89 ให้ความเห็นว่า สุขศึกษาก็เช่นเดียวกับการศึกษาทั่วๆไป คือ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมของบุคคล สุขศึกษาจะเน้นที่การพัฒนาการปฏิบัติทางสุขภาพอนามัย ซึ่งเชื่อว่าจะก่อให้เกิดสภาวะความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ที่สุด
Mayhew Derryberry ให้ความหมายสุขศึกษาไว้ง่ายๆ เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจดังนี้ สุขศึกษาเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เจตคติที่มีต่อการป้องกันและรักษา และการปฏิบัติทางสุขภาพอนามัย ตลอดจนนิสัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์หลายๆอย่างของบุคคลนั้น ดังนั้น สุขศึกษาจึงไม่ใช่กิจกรรมที่จะทำโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น แต่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของประชาชนที่มีต่อประสบการณ์ทางด้านสุขภาพทั้งหมดของเขา
จากคำจำกัดความต่างๆ ดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า สุขศึกษา คือ ประสบการณ์ทั้งมวลทางด้านสุขภาพที่ทำให้บุคคลเกิดความรู้ เจตคติและการปฏิบัติที่ดีและถูกต้องต่อสุขภาพของตัวเองและชุมชน ทั้งยังผลให้บุคคลและชุมชนมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
3. จุดมุ่งหมายของการสอนสุขศึกษา
1. สอนให้เด็กรู้จักรักษาและปรับปรุงสุขภาพของตัวเอง ให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีความสุข และสามารถกระทำการใดๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชีวิตของตัวเอง ครอบครัวและชุมชน2. ส่งเสริมให้เด็ก ผู้ปกครองและบุคคลอื่นๆ เกิดความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการรักษาและปรับปรุงสุขภาพของตัวเอง ครอบครัวและชุมชน
3. ปรับปรุงการดำรงชีวิตของตัวเองและชุมชน ให้เป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการช่วยให้ประชากรของชาติมีสุขภาพดียิ่งขึ้น
4. ผลจากการที่เด็กมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ จะมีผลทำให้เด็กเกิดความสัมฤทธิ์ผลทางด้านการเรียนและการดำรงชีวิตของตนเอง
4. ความสำคัญของการสอนสุขศึกษา
1. สุขภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากนักเรียนได้เรียนรู้หลักการต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพ จะทำให้นักเรียนมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติที่ดีและถูกต้อง ทั้งยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขอีกด้วย2.การสอนสุขศึกษาที่ดีและถูกต้อง มีส่วนช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพราะนักเรียนมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ถ้านักเรียนมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ จะทำให้การเรียนไม่ดีเท่าที่ควร
3. การสอนสุขศึกษาในโรงเรียน มีความเชื่อถือได้มากกว่าความรู้ที่นักเรียนได้รับมาจากแหล่งอื่นๆ เช่น จากเพื่อน ผู้ปกครองและบุคคลอื่นๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน เป็นความรู้ที่ได้รับการอบรมถ่ายทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งมีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายได้
4. การสอนสุขศึกษาให้แกนักเรียนซึ่งอยู่ในวัยเด็ก มีแนวโน้มที่จะเชื่อถือและปฏิบัติตามคำแนะนำได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ฉะนั้น การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เด็ก จึงเป็นการช่วยให้เด็กได้เรียนรู้หลักการเกี่ยวกับสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม และจะนำไปดัดแปลงใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเองและครอบครัวได้เร็วและมากยิ่งขึ้น
5. ในวงการศึกษาเชื่อว่า ความรู้หรือประสบการณ์บางอย่างของเด็ก สามารถถ่ายทอดไปสู้ผู้ใหญ่ได้ ถ้าหากความรู้นั้นถูกต้องและสามารถปฏิบัติให้เห็นจริงได้ ฉะนั้น การสอนสุขศึกษาให้แก่นักเรียน ก็เป็นวิธีหนึ่งของการให้สุขศึกษาแก่ชุมชน
5. หลักพื้นฐานในการสอนสุขศึกษา
การสอนที่ดีขึ้นอยู่กับหลักการหลายประการ ครูแต่ละคนต้องพยายามทำให้การสอนมีความหมายและบรรลุผล สอนให้ต่อเนื่องกัน หลักการสอนมีดังนี้1. ครูและนักเรียนร่วมมือกันวางจุดมุ่งหมาย วางแผนการสอน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และประเมินผลกากรเรียนการสอนร่วมกัน
2. พยายามทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จ เพื่อให้นักเรียนพอใจ มีความพยายามและสนใจสิ่งใหม่ๆ
3. ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นจริง
4. บทบาทเบื้องต้นของครู คือ กระตุ้นและแนะนักเรียนให้กระทำ มีเจตคติและค่านิยมที่ดี
5. จัดกลุ่มให้นักเรียนแต่ละคน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ
6. ครูต้องจัดบรรยากาศการสอนแบบกลุ่ม ไม่นำนักเรียนแสดงความเป็นกันเอง กระตุ้นให้นักเรียนรู้สึกปลอดภัยและทำหน้าที่สมาชิกที่ดีของกลุ่ม
7. การสอนต้องช่วยให้นักเรียนค้นพบและพัฒนาสติปัญญาของตนเอง บทบาทของครู คือ ช่วยให้ผู้เรียนทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาสามารถจะทำได้และทำได้อย่างดีด้วย
8. การเรียนจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีการสอนหรือขาดการจูงใจ
9. ช่วยนักเรียนให้รู้จักวิเคราะห์สิ่งที่ตัวเองเรียนให้ดีที่สุด
10. ค้นหาสาเหตุที่ทำให้นักเรียนเรียนช้าหรือไม่อยากเรียน และพยายามหาวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง
11. ใช้โสตทัศนูปกรณ์ให้เป็นประโยชน์และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. หลักเบื้องต้นสำหรับการสอนสุขศึกษาแก่เด็กประถมศึกษา
1. ทบทวนและสอนซ้ำเกี่ยวกับ "สุขภาพที่ดี" อยู่เสมอ2. พยายามสอนนักเรียนแต่ละคนให้ทั่วถึง พร้อมกับกระตุ้นให้นักเรียนได้พัฒนาสุขภาพของตัวเอง และยึดถือค่านิยมที่ดีทางสุขภาพด้วย
3. สอนให้นักเรียนแต่ละคนรับผิดชอบสุขนิสัยของตนเอง
4. จุดมุ่งหมายของการสอน คือ ทำให้นักเรียนมีความสุข ปรับตัวได้ดีและมีสุขภาพสมบูรณ์
5. บทเรียนทุกบทควรน่าสนใจ ตรงตามความต้องการและความสามรถของนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบที่ดีต่อตัวเองและต้อส่วนรวม
6. สอนสุขศึกษาให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของนักเรียน และเน้นเนื้อหาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
7. บูรณาการและสัมพันธ์เนื้อหากับประสบการณ์ของวิชาสุขศึกษากับวิชาอื่นๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
8. ในการสอนควรใช้สื่อการเรียนจากวิทยาศาสตร์ เช่น วิชากายภาพ สรีระศาสตร์และอื่นๆเข้าช่วย ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและสามารถแก้ปัญหาสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้น
9. สื่อการเรียนทุกชนิดที่นำมาใช้ควรสัมพันธ์กับเรื่องสุขภาพของนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนตัดสินใจเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพของตนเองได้
10. เมื่อจบการสอนสุขศึกษา ควรมีเครื่องมือ ( Means ) ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้อย่างอื่นๆต่อไป มิใช่จบภายในตัวของตัวเองเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น